อุทยานแห่งชาติทับลาน

อุทยานแห่งชาติทับลาน


อุทยานแห่งชาติทับลาน มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปักธงชัย อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์และมีป่าลาน ซึ่งหาดูได้ยากที่มีเฉพาะบางท้องที่เท่านั้น มีต้นลานขึ้นตามธรรมชาติ เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำ ลำธารต่างๆ และมีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น หุบผา หน้าผา น้ำตก เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ คือ มีเนื้อที่ประมาณ 1,397,375ไร่ หรือ 2,235.80 ตารางกิโลเมตร

ในอดีตป่าลานที่อุดมสมบูรณ์มีขึ้นอยู่กระจายทั่วๆ ไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมามีการขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรม จึงทำให้ป่าลานได้ถูกบุกรุกทำลายลงไปมาก จนปัจจุบันคงเหลือป่าลานแห่งสุดท้าย คือ บริเวณบ้านทับลาน บ้านขุนศรี บ้านบุพราหมณ์ และบ้านวังมืด จังหวัดปราจีนบุรี ในการไปตรวจสอบสภาพป่าลานเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2517 นายประดิษฐ์ วนาพิทักษ์ อธิบดีกรมป่าไม้ พบว่า ป่าลานในบริเวณดังกล่าวเป็นป่าลานแห่งสุดท้ายของประเทศเพื่ออนุรักษ์ป่าลานไว้ จึงมีดำริให้จัดตั้งป่าลานนี้เนื้อที่ประมาณ 36,250 ไร่ หรือ 58 ตารางกิโลเมตร เป็นวนอุทยาน และในการประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติครั้งที่ 1/2518 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2518 ได้มีมติให้ดำเนินการวางแผนปฏิบัติการที่ป่าลานกบินทร์บุรี ซึ่งสำนักงานป่าไม้เขตปราจีนบุรี ได้มีคำสั่งที่ 169/2518 ลงวันที่ 11 เมษายน 2518 และคำสั่งที่ 194/2518 ลงวันที่ 15 เมษายน 2518 ให้ นายสุชล ผาติเสนะ นักวิชาการป่าไม้ตรี และ นายยัณห์ ทักสูงเนิน พนักงานประจำเขต โดยอยู่ในความควบคุมการดำเนินงานของนายไพโรจน์ เชี่ยวเอี่ยมวัฒนา นักวิชาการป่าไม้โท ไปดำเนินการรังวัดหมายแนวเขต และจัดพื้นที่ปรับปรุงให้เป็นวนอุทยานป่าลาน ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติแก่งดินสอ-แก่งใหญ่-เขาสะโตน จังหวัดปราจีนบุรี

ต่อมากองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 2383/2520 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2520 ให้นายเชาวลิต เลิศชยันตรี นักวิชาการป่าไม้ 5 ทำหน้าที่หัวหน้าวนอุทยานทับลาน และในปี พ.ศ. 2523 กองอุทยานแห่งชาติ ได้ให้วนอุทยานทับลานสำรวจพื้นที่โดยรอบ เพื่อผนวกพื้นที่บริเวณใกล้เคียงแนวเขตติดต่อวนอุทยาน ยกฐานะวนอุทยานทับลานเป็นอุทยานแห่งชาติ ผลการสำรวจปรากฏว่า บริเวณป่าดังกล่าวโดยรอบมีสภาพป่าสมบูรณ์ มีทิวทัศน์สวยงาม สัตว์ป่าชุกชุมเป็นป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำบางปะกงและแม่น้ำมูล ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจ ที่ กส 0708(ทล.)/16 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2523 ทั้งเพื่อเป็นการสนองมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2522 ที่ให้รักษาป่าไว้โดยการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ

กรมป่าไม้จึงเสนอให้คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 เห็นสมควรออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าวังน้ำเขียวและป่าครบุรี ในท้องที่ตำบลสะแกราช ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอปักธงชัย ตำบลครบุรี ตำบลจระเข้หิน ตำบลโคกกระชาย อำเภอครบุรี และตำบลสระตะเคียน ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสะโตน ในท้องที่ตำบลบุพราหมณ์ ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 98 ตอนที่ 210 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 39 ของประเทศ


ต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2531 อนุญาตให้กรมชลประทานใช้พื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลานบริเวณป่าวังน้ำเขียว ป่าครบุรี ป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสะโตน บางส่วนในท้องที่ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำมูลบน เพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีเนื้อที่ 2,625 ไร่ หรือ 4.20 ตารางกิโลเมตร โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนพื้นที่ส่วนนี้ออก และในปี 2532 จึงได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าวังน้ำเขียว ป่าครบุรี ป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสะโตน บางส่วนในท้องที่ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ออกจากการเป็นอุทยานแห่งชาติตามที่กำหนดไว้โดยพระราชกฤษฎีกาเดิมปี พ.ศ. 2524 ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 106 ตอนที่ 107 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2532


สวนสัตว์โคราช

อยู่ห่างจากตัวเมือง 13 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 โคราช-ปักธงชัย ระยะทาง 12 กิโลเมตรเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2310 ไปอีก 1 กิโลเมตร เป็นสวนสัตว์แบบกึ่งเปิดและปิด พื้นที่กว่า 500 ไร่ สัตว์ป่าที่น่าสนใจ ได้แก่ กระทิง เนื้อทราย ละอง ละมั่ง ค่าง งู แมวป่า นก กระเรียน นกยูงไทย และนกยูงอินเดีย เป็นต้น เปิดให้เข้าชมทุกวันระหว่างเวลา 08.00-16.30 น.

ปราสาทหินพนมวัน




ปราสาทหินพนมวันตั้งอยู่ที่บ้านมะค่า ตำบลโพธิ์ เดินทางไปตามถนนสายโคราช-ขอนแก่น ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวาไปตามทางราดยางอีก 5 กิโลเมตร เป็นโบราณสถานสมัยขอม สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เพื่อเป็นเทวสถาน ต่อมาภายหลังดัดแปลงเป็นพุทธสถานตัวปราสาทหินพนมวัน สร้างเป็นปรางค์มีฉนวน (ทางเดิน) ติดต่อกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมยาว 25.50 เมตร กว้าง 10.20 เมตร พระปรางค์มีประตูซุ้ม 3 ด้าน ซุ้มประตูด้านทิศเหนือประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประธานอภัย 1 องค์ ลักษณะศิลปะแบบอยุธยา รอบปราสาทเป็นลานกว้างมีระเบียงคดก่อด้วยหินกว้าง 54 เมตร ยาว 63.30 เมตร ประกอบด้วยประตูทางเข้า 4 ทิศ ปราสาทแห่งนี้เป็นโบราณสถานที่น่าชม น่าศึกษาแห่งหนึ่ง

แหล่งหินตัด


ตั้งอยู่บนถนนมิตรภาพ (ทางหลวงหมายเลข 2) บริเวณกิโลเมตรที่ 207 ห่างจากตัวเมืองประมาณ 50 กิโลเมตร ด้านซ้ายมือบริเวณแหล่งหินตัดเป็นเนินเขาที่มีหินทรายสีขาวอยู่ทั่วบริเวณ ปรากฏร่องรอยการสกัดหินเป็นแท่งสี่เหลี่ยมขนาดต่างๆ และยังทิ้งร่องรอยของคมสิ่วที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสกัด สันนิษฐานว่าเดิมคงจะนำหินทรายบริเวณนี้ไปสร้างปราสาทหินที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง เช่น ปราสาทเมืองแขก ปราสาทโนนกู่ ปราสาทหินเมืองเก่า ในอำเภอสูงเนิน ซึ่งห่างออกไป 20 กิโลเมตร
นครราชสีมา นครราชสีมา โคราช

วัดบ้านไร่

ตั้งอยู่ที่ตำบลกุดพิมาน จากตัวเมืองเดินทางไตามถนนมิตรภาพ ถึงกิโลเมตรที่ 237 แยกขวาผ่านขามทะเลสอและหนองสรวงไปจนถึงอำเภอด่านขุนทด ระยะทาง 60 กิโลเมตร จากด่านขุนทดใช้ทางหลวงหมายเลข 2217 เป็นระยะทางอีก 10 กิโลเมตร เป็นวัดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเป็นสถานที่จำพรรษาของหลวงพ่อคูณ ปริสทฺโธ เกจิอาจารย์ชื่อดัง ในแต่ละวันมีผู้คนจากทุกสารทิศเดินทางมานมัสการหลวงพ่อคูณกันเป็นจำนวนมาก

ปราสาทหินพิมาย

ปราสาทหินพิมายหันหน้าไปทางทิศใต้ อันเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงแห่งอาณาจักรขอม แผนผังของปราสาทแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ลานชั้นใน ซึ่งล้อมรอบด้วยระเบียงคดหรือกำแพงชั้นใน มีทางเดินกว้าง 2.35 เมตร เดินทะลุกันได้ตลอดทั้งสี่ด้าน หลังคามุงด้วยแผ่นหิน มีปรางค์ประธานสร้างด้วยหินทรายสีขาวตั้งอยู่กลางลาน ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง กว้าง 18 เมตร ความยาวรวมทั้งมุขหน้า 32.50 เมตร หน้าบันและทับหลังส่วนใหญ่สลักเป็นภาพเล่าเรื่องรามายณะ และกฤษณาวตาร หน้าบันด้านหน้าสลลักเป็นภาพศิวนาฏราช ส่วนทับหลังของประตูห้องชั้นในขององค์ปรางค์สลลักเป็นภาพทางคติพุทธศาสนานิกายมหายาน ด้านหน้าปรางค์ประธานเยื้องไปทางซ้ายและขวามีปรางค์องค์เล็กอีกสองหลัง องค์ทางซ้ายสร้างด้วยศิลาแลง เรียกว่า ปรางค์พรหมทัต มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม กว้าง 14.50 เมตร สูง 11.40 เมตร ปรางค์ทางด้านขวาสร้างด้วยหินทรายสีแดง เรียกว่า ปรางค์หินแดง กว้าง 11.40 เมตร สูง 15 เมตร
ถัดจากระเบียงคดออกมาเป็นลานชั้นนอก ล้อมรอบด้วยกำแพงอีกชั้นหนึ่ง ประกอบด้วยอาคารที่เรียกว่า บรรณาลัยสองหลัง ตั้งคู่กันอยู่ทางด้านทิศตะวันตก มีสระน้ำอยู่ทั้งสี่มุม ทางเข้าด้านหน้ากำแพงชั้นนอกมีสะพานนาคราชและประติมากรรมรูปสิงห์
ถัดจากกำแพงชั้นนอกออกไปยังมีกำแพงเมืองล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง ปัจจุบันมีให้เห็นชัดเจนทางด้านทิศใต้ นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานนอกเขตกำแพงเมืองทางด้านทิศใต้ ได้แก่ ท่านางสระผม กุฏิฤาษี และอโรคยาศาล
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 07.30-18.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทยคนละ 5 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 20 บาท

แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท


ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านปราสาทใต้ ตำบลธารปราสาท ห่างจากตัวเมือง 45 กิโลเมตร การเดินทางสามารถใช้เส้นทางสายมิตรภาพ จากจังหวัดนครราชสีมาขึ้นเหนือไปจังหวัดขอนแก่น ถึงหลักกิโลเมตรที่ 44 จะมีทางแยกซ้ายเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งที่สองต่อจากบ้านเชียง ที่ได้จัดทำเป็นลักษณะพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง จากการขุดแต่งหลุม ทำให้พบโครงกระดูกมนุษย์ที่มีสภาพสมบูรณ์ และไม่สมบูรณ์ หันศีรษะไปทางทิศต่างๆ มีการฝังภาชนะดินเผาแบบเคลือบโคลนสีแดง แบบลายเชือกทาบ เครื่องประดับต่างๆ เช่น กำไลเปลือกหอย ลูกปัด แหวนสำริด กำไลสำริด เครื่องประดับศีรษะทำด้วยสำริด
จากหลักฐานที่ได้ค้นพบสันนิษฐานว่า บริเวณบ้านปราสาทมีชุมชนอาศัยอยู่ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ ที่มีหลักฐานของกลุ่มวัฒนธรรมแบบทวารวดี และแบบเขมรโบราณ ระยะเวลาอยู่ในช่วงระหว่าง 2,500-3,000 ปีมาแล้ว

ปรางค์ครบุรี

ตั้งอยู่ในโรงเรียนบ้านครบุรีนครธรรมโฆสิตวิทยาคาร จากตัวเมืองใช้เส้นทางหมายเลข 244 ผ่านอำเภอโชคชัยตรงข้ามถนนสาย 2071 ถึงกิโลเมตรที่ 20 มีทางแยกขวาไปอีก 5 กิโลเมตร รวมระยะทางจากตัวเมือง 55 กิโลเมตร ปรางค์ครบุรีเป็นโบราณสถานสมัยขอมที่ใช้เป็น อโรคยาศาล ประกอบด้วยปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีมุขยื่นด้านหน้า ด้านหน้าเยื้องไปทางขวามือมีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรียกว่า บรรณาลัย มีกำแพงแก้วล้อมรอบโดยมีซุ้มประตูอยู่ตรงทางเข้าด้านทิศตะวันออก นอกกำแพงที่มุมซ้ายด้านหน้ามีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 1 สระ สิ่งก่อสร้างทั้งหมดเป็นศิลาแลง ยกเว้นเสาประดับประตูทับหลังเป็นหินทราย ชิ้นส่วนเหล่านี้ยังคงเหลือเฉพาะส่วนที่ไม่มีลวดลาย ส่วนที่แกะสลักลวดลายไม่มีเหลือให้เห็นแล้ว













ที่พักในเมืองโคราช

  • โรงแรมแกลี่ไวท์โคราช 92 หมู่ 3 ถ.มิตรภาพ - ขอนแก่น โทร.044-296142-9, 258684 ราคา 350-600. บาท
  • โรงแรมคาเธ่ย์ 130 ถ.ราชดำเนิน โทร.044-252067 , 242889 ราคา 170-200. บาท
  • คิงส์โฮเต็ล 1756 ถ.มิตรภาพ โทร.0-4426-2046-8 ราคา 270-600. บาทโรงแรม เค เอส. เจ้าพระยาอินน์ 62/1 ถ.จอมสุรางค์ฯ โทร.044-243-825 ราคา 650. บาท
  • โรงแรม เค.เอส พาวิลเลี่ยน 245 ตรอกเสาธง โทร. 044-261-945,263-039-41 ราคา 700-1,400. บาท
  • โคราช โฮเต็ล 161 ถ.อัษฎางค์ โทร.044-257057 ราคา 500-1,400. บาท
  • โรงแรมชุมพล 2701/2 ถ.มหาดไทย โทร.044-257080-9 , 257081 - 6 ราคา 240-380. บาท
  • โรงแรมดิแอร์พอท 113 ถ.เดชอุดม โทร.044-275-305-9 ราคา 680-1,500. บาท
  • โรงแรมโตเกียวคิวสวิทเวเซอร์ 256-258 ถ.สุรนารี โทร.044-242873 257179 , 242788

  • โรงแรมไทยโภคภัณฑ์ 106 ถ.อัษฎางค์ โทร.044-242454 ราคา 180-400. บาท
  • โรงแรมไทยโฮเต็ล 644-650 ถ.มิตรภาพ โทร.044-270723-6, 044-241613-4 ราคา 350-550. บาท

  • โรงแรมนารายณ์โฮเต็ล 531 ถ.มิตรภาพ โทร.044246206, 256543
  • โรงแรมบอสส์ 823/1 ถ.มิตรภาพ โทร.044-270755-7 270754
  • โรงแรมเบสท์โฮเต็ล 888 ม.4 ถ.ราชสีมา-ปักธงชัย โทร.044-257-564 ราคา 400-500. บาท
  • โรงแรมพีกาซัสทาวเวอร์ 444/4 ถ.มิตรภาพ-ขอนแก่น โทร.044-272841-8 ราคา 450-850. บาท
  • โรงแรมโพธิ์ทอง 652 ถ.ราชดำเนิน โทร.044-251-962 ราคา 170-350. บาท
  • โรงแรมฟ้าไทย 35-39 ถ.โพธิ์กลาง โทร.044-267390-2 ราคา 250-350. บาท
  • โรงแรมฟ้าสาง 112-4 ถ.มุขมนตรี โทร.044-242143 ราคา 150-330. บาทเฟิร์ส เกสท์เฮ้าส์ (1) 132-136 ถ.บุรินทร์ โทร.044-257-195 ราคา 160-600. บาทเฟิร์ส เกสท์เฮ้าส์ (2) 59 ถ.บุรินทร์ โทร.044-2969-608 ราคา 220-600. บาทเฟิร์ส เกสท์เฮ้าส์ (3) 59 ถ.บุรินทร์ โทร.044-267-263 ราคา 220-360.
  • บาทออร์คิด 199 ม.4 ถ.ราชสีมา-โชคชัย โทร.0-7727-8323-7 ราคา 500. บาท
  • โรงแรมเมืองทอง 50-52 ถ.ชุมพล โทร.044-242090สุรสัมนาคาร 111 ถ.มหาวิทยาลัย โทร. 044-224-880 ราคา 800-1,500. บาท
  • โรงแรมราชพฤกษ์แกรนด์โฮเทล 311 ถ.มิตรภาพ โทร.044-262-500,261-222 ราคา 1,000-2,000. บาท
  • โรงแรมโรสการ์เด้นอินท์ 848 หมู่ 1 ถ.มิตรภาพ โทร. 044-214378
  • โรงแรมสากล 46-48 ถ.อัษฎางค์ โทร.044-244-502,241-260 ราคา 150-450บาท
  • โรงแรมศิริโฮเต็ล 688-690 ถ.โพธิ์กลาง โทร.044-242-831,241-556
  • โรงแรมศรีจอมพล 133-135 ถ.จอมพล โทร.044-252-829 ราคา 460-900. บาท
  • โรงแรมศรีวิชัย 9-11 ถ.บัวรอง โทร.044-252067 , 242889 ราคา 300-450. บาท
  • โรงแรมศรีพัฒนา 364 ถ.สุรนารี โทร.044-251-652-4 ราคา 600-900. บาท
  • โรงแรมศรีรัตน์ 7 ถ.สุรนารี โทร.044-243-116 ราคา 160-250. บาท
  • โรงแรมศรีสุระ 115 ถ.สุรนารี โทร.044-242-605 ราคา 160-250. บาทไทยโภชนา 3051-2 ถ.จอมสุรางค์ยาตร์ โทร. 242280
  • โรงแรมออร์คิด 199 หมู่ 4 ถ.ราชสีมา - ปักธงชัย โทร.044-278-323-7
  • โรงแรมเอกนคร 120 ถ.จอมพล โทร.044-242504 , 255198 ราคา 160-350. บาท
  • โรงแรมเอราวัณโมเต็ล 353 ถ.มิตรภาพ โทร.044-252330, 245546
  • โรงแรมหนึ่งบังกาโล 447 ถ.มิตรภาพ โทร.044-253945สนามกอล์ฟรุคส์โคราช คันทรี คลับ 622 ม.2 ต.ธงชัยเหนือ โทร. 0-4424-9060-1
  • โรงแรมอัษฏางค์ 315 ถ.อัษฏางค์ โทร.0-4424-2514 ราคา 160-350. บาท
  • โรงแรมรายาแกรนด์ 2173/2 ถ.ท้าวสุระ โทร. 0-4435-4354 ราคา 350-600. บาทโกลเด้นท์แลนด์ รีสอร์ท

เกร็ดน่ารู้เรืองการกิน

เกร็ดน่ารู้เรืองการกิน

กินอย่างไรให้ถูกวิธี

1.กินอาหารเช้า จะทำให้คุณกินอาหารในมื้ออื่นๆ น้อยลง

2.ดื่มน้ำให้มากขึ้น คนเราควรดื่มน้ำวันละ 2 ลิตรเป็นอย่างน้อย จะทำให้สดชื่นตลอดวันเลยทีเดียว

3.กินปลาอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง ได้ทั้งความฉลาดและแข็งแรง
จัดน้ำชาให้ตัวเอง ในชามีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ


4.ธัญพืชและข้าวกล้อง เมล็ดทานตะวัน ข้าวฟ่างและลูกเดือย ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เพราะอุดมไปด้วยไฟเบอร์ ที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และควบคุมน้ำตาลในเลือดให้สมดุล

5.กินให้ครบทุกอย่างที่ธรรมชาติมี พยายามรับประทานผักผลไม้ต่างๆ ให้หลากสี เป็นต้นว่า สีแดงมะเขือเทศ สีม่วงองุ่น สีเขียวบร็อกเคอรี สีส้มแครอท อย่ายึดติดอยู่กับการกินอะไรเพียงอย่างเดียว เพราะพืชต่างสีกัน มีสารอาหารต่างชนิดกัน

6.เสริมสร้างแคลเซียมให้กับกระดูก ด้วยการดื่มนม กินปลาตัวเล็กทั้งตัวทั้งก้าง เต้าหู้ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ผักใบเขียว

วันนี่คุณทานอาหารครบ 5หมูกันรึยังค่ะ

เกร็ดน่ารู้เรืองยา

ข้อควรคำนึงถึงก่อนการรับประทานยา

1.ยาก่อนอาหาร ควรรับประทานก่อนอาหารประมาณ ?-1 ชั่วโมง
2.ยาหลังอาหาร ควรรับประทานหลังอาหารประมาณ 15-30 นาที แต่ถ้าเป็นยาที่ระบุว่าต้องรับประทานหลังอาหารทันที หรือต้องรับประทานพร้อมอาหาร ผู้ป่วยก็ไม่ควรรับประทานยาประเภทนี้ขณะท้องว่าง เพราะส่วนใหญ่จะเป็นยาที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะ และ ถ้าเป็นยาลดกรด ควรรับประทาน ก่อนอาหาร หรือหลังอาหาร 1/2 - 1 ชั่วโมง จึงจะให้ผลดี

3.ยาเม็ดหรือแคปซูล ควรกลืนทั้งเม็ดพร้อมน้ำ ส่วนที่ระบุว่า "เคี้ยวก่อนกลืน" ก็ต้องเคี้ยวให้ละเอียดก่อน

4.ยาน้ำ ควรเขย่าขวดก่อนรับประทานทุกครั้งเพื่อให้ตัวยากระจายทั่วทั้งขวด

5.ยาผง ที่ต้องละลายน้ำก่อนรับประทาน เช่น ยาขับเสมหะ หรือยาระบายบางชนิด ห้ามรับประทานแห้งแล้วค่อยดื่มน้ำตาม เพราะอาจทำให้เกิดการอุดตัน ของทางเดินอาหารได้
อย่าละเลยคำเตือนที่ระบุมากับยา เช่น ยาบางชนิดต้องรับประทานต่อเนื่องทุกวันจนหมด ยาบางชนิดต้องรับประทานน้ำตามมาก ๆ เพราะยาอาจตกตะกอนที่ไตเกิดนิ่วบางชนิด
ไม่ควรรับประทานเครื่องดื่มหรืออาหารที่มีแอลกอฮอร์ผสมอยู่ เพราะแอลกอฮอร์มักมีผลต่อการดูดซึมยาเสมอ

6.ยาใช้เฉพาะที่ เช่น ยาเหน็บที่สอดทวารหนัก หรือสอดทางช่องคลอด ควรนำยาไปจุ่มน้ำสะอาดก่อนเพื่อให้เม็ดยาลื่น ซึ่งจะสะดวกแก่การสอดใส่ และหลังจากสอดแล้วควรนอนพักอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อให้ยาละลาย และดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ข้อควรจำ ยาที่สอดเข้าทวารหนัก ควรเก็บไว้ในตู้เย็น เพื่อเป็นการป้องกันยาหลอมตัว และช่วยให้ยามีความแข็งพอที่จะสอดเข้าทวารได้

เกร็ดน่ารู้ 5 วิธี ตั้งรับ “เพื่อน” ขี้อิจฉา

  • ยอมรับว่ามันเกิดขึ้นแล้ว : ขอให้ตั้งสติและยอมรับว่าเรื่องนี้มันได้เกิดขึ้นกับเราแล้ว เพื่อที่จะได้กลับมาทบทวนหาหนทางแก้ไขต่อไป
  • ปล่อยมันไป เมื่อทำใจได้แล้ว : เพราะถ้าหากเราคือเพชรแท้…อยู่ที่ไหนก็ยังคงเปล่งประกายวันยังค่ำ… ปล่อยให้พวกกรวด หิน ดิน ทราย ขี้อิจฉาทั้งหลายแพ้ภัยตัวเองกันไป แล้วกัน
  • เอาชนะด้วยความดี : หากอยากจะเอาชนะศัตรู ก็จงเอาชนะด้วยความดี แล้วสักวันหนึ่ง เขาอาจจะเสียใจที่เคยคิดอิจฉาคนดีๆ อย่างเรา
  • ทุ่มเทให้กับงาน : อย่ามัวแต่หมกมุ่นครุ่นคิดอยู่กับเรื่องจุกจิกพรรค์นี้ จนกลายเป็นอุปสรรคให้ต้องเสียงานเสียการ
  • ปรับความเข้าใจ : ลองหาช่วงเวลาเหมาะๆ เข้าไปนั่งจับเข่าคุยกัน เปิดอกเคลียร์ปัญหาด้วยการเริ่มต้นเจรจา อย่างสุภาพและต้องใจกว้างพอเมื่อถูก วิจ ารณ์จากคู่กรณี อย่าเพิ่งจี๊ดจนไฟออกหู ถ้าอยากปรับความเข้าใจกัน

ข้อมูลทั้วไป-เมืองโคราช

นครราชสีมา หรือที่เรียกว่า “โคราช” เปรียบเสมือนประตูสู่ภาคอีสาน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 259 กิโลเมตร เป็นเมืองใหญ่บนดินแดนที่ราบสูง ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากร และสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว ผู้มาเยือนจะเพลิดเพลินกับกิจกรรมท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งเดินป่าศึกษาธรรมชาติ พักผ่อนหย่อนใจริมอ่างเก็บน้ำ ชื่นชมความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมขอมโบราณ และเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน ทั้งยังได้อิ่มอร่อยกับอาหารอีสานต้นตำรับ ก่อนกลับยังได้ซื้อหาสินค้าเกษตร หัตถกรรมพื้นบ้าน ที่มีให้เลือกอีกมากมาย

นครราชสีมา เกิดจากการรวมชื่อเมืองโบราณสองเมือง คือ เมืองโคราชและเมืองเสมา ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอโนนสูง นครราชสีมาเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณหลายแห่งตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงสมัยที่มีการเผยแพร่ของวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมแบบขอมเข้ามาในดินแดนแถบนี้ เคยมีฐานะเป็นเมือง “เจ้าพระยามหานคร” เช่นเดียวกับเมืองนครศรีธรรมราชทางภาคใต้ มีอำนาจปกครองหัวเมืองน้อยใหญ่ในอีสานหลายแห่ง จนมาถึงปัจจุบันก็ยังคงความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่เป็นเมืองศูนย์กลางทางด้านคมนาคม เศรษฐกิจของภาคอีสาน

จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่ประมาณ 20,494 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 26 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครราชสีมา ปากช่อง สีคิ้ว สูงเนิน ขามทะเลสอ ด่านขุนทด โนนไทย โนนสูง ขามสะแกแสง พิมาย คงโนนแดง ประทาย ชุมพวง บัวใหญ่ แก้งสนามนาง บ้านเหลื่อม จักราช ห้วยแถลง ปักธงชัย โชคชัย ครบุรี เสิงสาง หนองบุนนาก วังน้ำเขียว เฉลิมพระเกียรติ และอีก 6 กิ่งอำเภอ คือ กิ่งอำเภอเมืองยาง เทพารักษ์ ลำทะเมนชัย พระทองคำ บัวลายและสีดา

อาณาเขต :
ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดชัยภูมิ และขอนแก่นทิศใต้ ติดกับจังหวัดนครนายก และปราจีนบุรีทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดบุรีรัมย์ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดชัยภูมิ และสระบุรี

ประเพณีและวัฒนธรรม

ไทยโคราช ชื่อ ไทยโคราช ความเป็นมา จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่มีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย แต่ไทยโคราชเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ ที่มีวัฒนธรรมโคราช ได้แก่ มีเพลงพื้นบ้านที่เรียกว่า "เพลงโคราช" ใช้ดนตรีพื้นบ้าน คือ มโหรีโคราช และที่เป็น เอกลักษณ์สำคัญคือใช้ภาษาโคราชในชีวิตประจำวัน ไม่มีหลักฐานบ่งบอกว่ากลุ่มชาติพันธุ์โคราชมาจากที่ใด แต่มีหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับชุมชนโบราณ บริเวณจังหวัดนครราชสีมาจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์นี้ นอกจากจะอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมาแล้วยังมีอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ ชัยภูมิ และบางส่วนของจังหวัดลพบุรี บาง ครั้งอาจเรียกกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่า ไทยเบิ้ง วิถีชีวิตและภาษา กลุ่มชาติพันธุ์โคราชมีวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายเหมือนชาวชนบททั่วไป คืออยู่บ้านใต้ถุนสูงแบบบ้านโคราช ซึ่งเป็นเรือนสามระดับ ใกล้ ๆ บ้านปลูกพืชผักสวนครัวซึ่งอาจมีทั้งอาหารและยา ใช้ผ้านุ่งโจงกระเบนซึ่งเป็น ผ้าไหมเรียกว่า ไหมหางกระรอก ซึ่งเป็นผ้าทอที่เส้นพุ่งเป็นไหมควบสองเส้นทำให้ทอแล้วเกิดเป็นลูกลาย เหมือนหางกระรอกและวัฒนธรรมที่สำคัญคือ ภาษาโคราช ซึ่งมีวงศัพท์ เสียง และสำนวนของตัวเอง เช่น จ่น แปลว่า ไม่ว่างเลย เช่น วันนี้จ่นมาก จื้น แปลว่า จืดชืด หรือ เซ็ง เช่น ส้มตำนี้จื้นแล้ว เซาะเยาะ แปลว่า ผอมโซ ไม่มีเรี่ยวแรง นอกจากนี้อาจเพี้ยนเสียงวรรณยุกต์คำในภาษาไทยกลาง ได้แก่ เพี้ยนเสียงเอกเป็นเสียงตรี เช่น กัด เป็น กั๊ด ดัด เป็น ดั๊ด เพี้ยนเสียงสามัญเป็นเสียงจัตวา เช่น ปลา เป็น ปล๋า กา เป็น ก๋า เกี่ยวกับสำนวนภาษาโคราชมีสำนวนมากมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น คำเรียกขวัญ ดังตัวอย่างเล็กน้อยดังนี้ "ขวัญอีนางเอยมา??กู๊? ขอให่มาเข่าโครงอย่าได้หลาบ ขอให่มาเข่าคราบอย่าได้ถอย สิบปีอย่าไปอื่น หมื่นปีอย่าไปไกล ขอให่มาอยู่ซุมพ่อซุมแม่ ซุมพี่ซุมน่อง ให่มาอยู่เรือนใหญ่ หัวกะไดสูง.." หมายความว่า ขวัญลูกเอยจงมาเถิดขอให้มาอยู่กับร่างกายสิบปีหมื่นปีอย่าได้ไปไหน ขอให้อยู่กับพ่อ แม่พี่น้อง บนเรือนหลังใหญ่บันไดสูง การปรับปรนในสังคมปัจจุบัน ปัจจุบันกลุ่มชาติพันธุ์โคราชมีความภาคภูมิใจในความเป็นคนโคราช ร่วมกันสร้างสรรค์สังคม รักษา และสืบทอด วัฒนธรรมโคราช ให้คงอยู่

ประเพรีท้องถิ่น
งานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี ชื่อ งานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี ช่วงเวลา ระหว่างวันที่ ๒๓ มีนาคม - ๓ เมษายน ของทุกปี ความสำคัญ เป็นงานประจำปีของจังหวัดซึ่งเริ่มขึ้นในวันที่ ๒๓ มีนาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นเวลาที่ ท้าวสุรนารี ได้รับชัยชนะจากข้าศึก เพราะวันที่ ๒๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๓๖๙ คือวันที่เจ้าอนุวงศ์ยกทัพ ออกจากเมืองนครราชสีมา จึงเป็นงานประเพณีทำให้ระลึกถึงความกล้าหาญในวีรกรรมครั้งนั้น นอกจากนี้ใน งานยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรม การออกร้าน จัดนิทรรศการของหน่วยราชการและภาคเอกชน รวมทั้ง กิจกรรมบันเทิงที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในแต่ละวัน พิธีกรรม พิธีกรรมที่จัดขึ้นในงามที่จัดขึ้นในงานของท้าวสุรนารี เริ่มต้นครั้งแรกใน ปี พุทธศักราช ๒๔๗๗ มีการ บวงสรวงอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี พิธีจุดพลุสี่มุมเมือง นอกจากนี้ในอดีตเคยมีการจัดการแสดงละครเรื่อง วีรกรรมท้าวสุรนารี ให้เป็นกิจกรรมหลักของงานเพื่อให้ผู้ร่วมงานระลึกถึงความกล้าหาญในวีรกรรมครั้งนั้น สาระ กิจกรรมนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พลเมือง เป็นแบบอย่างให้กับพลเมือง ได้ตระหนักถึงบุคคลที่ถูกยกย่องให้เป็นปูชนียบุคคล

สินค้าOTOPเมืองโคราช
หาซื้อได้ที่ศูนย์ของดีเมืองโคราช












ประวัตติหลวงพ่อคูณ

หลวงพ่อคูณ ถือกำเนิดที่บ้านไร่ ม.6 ต.กุดพิมาน อ.อ่านขุนทด จ.นครราชสีมา ในครอบครัวของชาวไร่ชาวนาที่อยู่ห่างไกลความเจริญ บิดาชื่อ นายบุญ ฉัตรพลกรัง มารดาชือ นางทองขาว ฉัตรพลกรัง เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2466 ตรงกับวันแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน เป็นบุตรชายคนหัวปี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๓ คน คือ

๑ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ
๒ นายคำมั่ง แจ้งแสงใส
๓ นางทองหล่อ เพ็ญจันทร์

มารดาคือ นางทองขาว เล่าให้ฟังว่า ก่อนตั้งครรภ์ กลางดึกคืนวันหนึ่งเวลาประมาณตี ๓ นางได้ฝันเห็นเทพองค์หนึ่ง มีกายเรืองแสงงดงาม ลอยลงมาจากสวรรค์ มาที่บ้านของนางและกล่าวว่า... เจ้าและสามีเป็นผู้มีศีลธรรม เมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง ประกอบการงานอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งยังสร้างคุณงาม ความดีมาตลอดหลายชาติ เราขอำนวยพรให้เจ้า และครอบครัวมีแต่ความสุขสวัสดิ์ตลอดไป และเทพองค์นั้นยังได้มอบดวงแก้วใสสะอาดสุกว่างให้แก่ นางด้วย "ดวงมณีนี้ เจ้าจงรับไปและรักษาให้ดีต่อไปภายหน้า จะได้เป็นพระพุทธสาวกหน่อเนื้อพระชินวร เพื่อสืบพระพุทธศาสนา เป็นเนื้อนาบุญ ที่พึ่งของสัตว์โลกทั้งปวง" การศึกษา เนื่องด้วยบุรพกรรมและสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้แน่ นอน บิดามารดาของหลวงพ่อคูณ ได้เสียชีวิตลงในขณะที่ลูกทั้ง ๓ คน ยังเป็นเด็ก หลวงพ่อคูณกับน้อง ๆ จึงอยู่ในความอุปการะของน้าสาว สมัยที่หลวงพ่อคูณอยู่ในวัยเยาว์ ๖-๗ ขวบ ได้เข้าเรียนหนังสือ กับพระอาจารย์เชื่อม วิรโธ พระอาจารย์ฉาย และพระอาจารย์หลี ทั้งภาษาไทย และภาษาขอม ที่วัดบ้านไร่ สถานการศึกษาแห่งเดียวในหมู่บ้าน มิได้มีโรงเรียนทำการสอนเช่นในสมัยปัจจุบัน นอกจากเรียนภาษาไทยและขอมแล้ว พระอาจารย์ทั้ง ๓ ยังมีเมตตาอบรมสั่งสอนวิชา คาถาอาคม เพื่อป้องกันอันตรายต่างๆ ให้แก่หลวงพ่อคูณด้วย นับว่าหลวงพ่อคูณรู้วิชาไสยศาสตร์มาแต่เยาว์วัย

อุปสมบท หลวงพ่อคูณอุปสมบท เมื่ออายุได้ 21 ปี ณ พัทธสีมาวัดถนนหักใหญ่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๘๗ (หนังสือบางแห่งว่า ปี ๒๔๘๖) ตรงกับวันศุกร์ เดือน 6 ปีวอก โดยพระครูวิจารย์ดีกิจ อดีตเจ้าคณะอำเภอด่านขุนทด เป็นพระอุปัชฌาย์ พระกรรมวาจาจารย์ คือพระอาจารย์สุข วัดโคกรักษ์ หลวงพ่อคูณได้รับฉายาว่า ปริสุทโธ หลังจากที่หลวงพ่อคูณอุปสมบทเป็นพระภิกษุเรียบร้อยแล ้ว ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อแดง วัดบ้านหนองโพธิ์ ต.สำนักตะคร้อ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา (บางตำรากล่าวว่าเมื่อบรรพชาแล้วได้เล่าเรียนกับหลวง พ่อคง ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดถนนหักใหญ่ก่อน แล้ว หลวงพ่อคงจึงนำไปฝากกับหลวงพ่อแดง) หลวงพ่อแดง เป็นพระนักปฏิบัติทางด้านคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ อย่างเคร่งครัด และทั้งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมเป็นอย่างย ิ่ง จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนและลูกศิษย์เป็นอย่างมาก หลวงพ่อคูณตั้งใจร่ำเรียนพระธรรมวินัย ตามรอยพระพุทธองค์ ที่ตรัสไว้ว่า... " เทว เม ภิกขเว วิชชา ภาคิยา" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิชานั้นมีอยู่ ๒ อย่าง คือ
๑ สมถะ ความสงบระงับแห่งจิตที่ปราศจากกิเลสอาสวะทั้งปวง
๒ วิปัสสนา ความเห็นแจ้งซึ่งธรรมเบื้องสูงอันสุขุมลุ่มลึก ในทางพุทธศาสนาและจงเดินตามหนทางนั้นเถิด...


เกร็ดน่ารู้เรืองการอ่าน

อ่านอย่างไรให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

  • เริ่มอ่านด้วยหนังสืออ่านง่ายและสนุก อ่านสม่ำเสมอทุกวันในช่วงเวลาสั้น ๆ
  • มีความตั้งใจที่จะอ่านให้เร็วกว่าเดิม
  • กำหนดเวลาในการอ่านให้แน่นอน เช่น 30 นาที 1 ชั่วโมง
  • จับใจความให้ได้ด้วยการทดลองทำนายเนื้อเรื่องล่วงหน้า และทบทวนเรื่อง ที่อ่าน ผ่านไปแล้ว
  • ศึกษาศัพท์ความหมายของคำที่ใช้ คำใดที่ไม่แน่ใจควรทำเครื่องหมายไว้
  • อย่าพยายามเคลื่อนไหวสายตาย้อนกลับ จะทำให้เกิดความสับสน
  • อ่านโดยกวาดสายตาไปรอบ ๆ
  • อ่านในใจ ไม่พึมพำหรือทำปากขมุบขมิบ
  • จดบันทึกผลความก้าวหน้า
  • อย่าหยุดอ่านเพื่อจดบันทึกจนกว่าจะจบตอบหนึ่ง ๆ

ประวัติย่าโม

ย่าโมเป็นคนโคราช เกิดในตระกูลผู้ดีเก่าในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราช เกิดเมื่อ พ.ศ. 2314 ท่านเป็นคนที่งามพร้อม กิริยา มารยาท อ่อนหวานแต่ก็ซุกซนด้วย ชอบเล่นฟันดาบ กระบี่ กระบอง มาตั้งแต่เด็ก

พอโตเป็นสาว ได้แต่งงานกับพระยาสุรเดชาเดชฤทธิทศทิศวิชัย และสมัยต่อมามีเหตุการณ์เกิดขึ้นในประเทศ จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอย่หัว ได้ทรงโปรดให้ทรงจัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระราชบิดาคือ รัชกาลที่ 2 บรรดาเจ้าเมืองประเทศราชหรือผู้แทนจะต้องเดินทางมาถวายบังคมพระบรมศพ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและในครั้งนั้น เจ้าอนุวงค์ ได้เดินทางมาถวายพระเพลิง พระบรมศพด้วยตนเอง พร้อมผู้ติดตามอีกมากมาย ในขณะที่พำนักอยู่ใน กรุงเทพฯนั้น พระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงขอแรงให้ไพล่พลของเจ้าอนุวงค์ ให้ไปช่วยตัดไม่ต้นตาลที่เมือง สุพรรณบุรี ไม่จำกัดจำนวนเสร็จแล้วให้ลากเข็นมาที่ สมุทรปราการ น้องชายของเจ้าอนุวงค์ได้ทำตามรบสั่งจนสำเร็จ จนทำให้ เจ้าอนุวงค์ทะนงตัวว่าเป็นคนโปรดของพระเจ้าอยู่หัว และเคยช่วยทำศึกกับพม่าที่เมืองเชียงแสน 2362 ถึง 2 ครั้ง และปราบพวกกบฎข่าที่เมืองจำปาศักดิ์ ตอนจะทูลลากลับ หน้าพระที่นั่ง เจ้าอนุวงค์ได้ทูลขอครอบครัวชาวเวียงจันทร์ ที่เคยเป็นเชลยสมัยพระเจ้ากรุงธนฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ประทานเนื่องจากทรงเห็นชาวลาวมาตั้งหลักแหล่งดีแล้ว ถ้ากลับไปจะไปก่อตั้งเป็นปึกแผ่นละก่อเหตุให้เดือดร้อนอีกในเมืองไทย

เจ้าอนุวงค์ไม่พอใจมาก กลับไปเวียงจันทร์วางแผนจะมายึดกรุงเทพฯ แต่ทำศึกที่โคราชก่อน ตอนนั้นที่ นครราชสีมา พระยาปลัดทองคำสามีของย่าโมและเจ้าเมืองไม่อยู่ ไปราชการที่เขมร ย่าโมอยุ่ที่เมืองโคราช เจ้าอนุวงค์บุกจับไปเป็นเชลย พร้อมครอบครัวชาวเมืองอีก 600 ครอบครัว ช้างอีก 70 เชื่อก เมื่อเดินทางไปถึงทุ่งสัมฤทธิ์ ย่าโมได้วางแผนต่างๆ จนทหารลาวยอมให้พัก ย่าโมวางแผนให้ ผู้หญิงผู้ชาย ชาวเมืองโคราชทำให้ทหารลาวตายใจ และได้ทำการฆ่าทหารลาว และต่อสู้กันอุตลุต จนสามารถเอาชนะฝ่ายทหารลาวได้ แต่ก็ต้องเสียนางสาวบุญเหลือ และชาวเมืองโคราชไปบ้าง หลังจากนั้นทหารลาวก็ถูกตามทำศึกจากไทย จนชนะ และต่อมาเจ้าอนุวงค์ก็โดนจับไปทำโทษที่กรุงเทพฯและได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 จึงแต่งตั้งย่าโมให้เป็น ท้าวสุรนารี

คำขวัญประจำโคราช

เมืองหญิงกล้า

ผ้าไหมดี หมี่โคราช

ปราสาทหิน

ดินด่านเกวียน

การก่อตัวของชุมชนในบริเวณจังหวัดนครราชสีมา

จังหวัดนครราชสีมา เริ่มต้นในลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน บริเวณอำเภอโนนสูง พิมาย และจักราช การพบชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านปราสาท อายุประมาณ 2,500 - 3,000 ปี เป็นหลักฐานที่ยืนยันสมมุติฐานได้เป็นอย่างดีจนกระทั่งพุทธศตวรรษที่ ๑๖ การสร้างปราสาทหินพิมาย เพื่อเป็นศูนย์กลางของการนับถือพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน แสดงให้เห็นถึงความเจริญเติบโตของชุมชนในแถบนครราชสีมา ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องได้เป็นอย่างดี อิทธิพลของรัฐไทยเริ่มแพร่เข้ามาสู่นครราชสีมาในสมัยอยุธยา เริ่มปรากฎชื่อนครราชสีมาในกฎหมายตราสามดวง เรื่อง พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือนและนาทหารหัวเมืองที่ประกาศใช้ในปีพุทธศักราช ๑๙๙๘ สมัยพระบรมไตรโลกนาถ ระบุว่าเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองชั้นโท เจ้าเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็นออกญากำแหงสงครามรามภักดีพิรียะภาหะ ศักดินา ๑๐,๐๐๐ ไร่ แต่ที่น่าสนใจที่สุด อยู่ตรงที่ว่านครราชสีมาเป็นเมืองในภาคตะวันออกเฉียง
เหนือเพียงเมืองเดียว ที่ถูกระบุไว้ในรายชื่อเมืองของกฎหมาย

ผลการประเมินBlog

เนื้อหาที่เกี่ยวข้องเ กี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของจังหวัดนครราชศรีมา สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ

วัตถุประสงค์

-แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ

เนื้อหาเป็นประโยชน์ 4 คะแนน
ความน่าสนใจ 3 คะแนน
ความทันสมัย 4 คะแนน
ความสวยงาม 3 คะแนน
ความเรียบง่าย 5 คะแนน
สรุปคะแนน 19 คะแนน

ปราสาทนางรำ

ตั้งอยู่ที่บ้านนางรำ ตำบลนางรำ ห่างจากตัวเมือง 79 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหมายเลข 2 ผ่านทางเข้าอำเภอพิมายไปจนถึงแยกบ้านวัดระยะทาง 62 กิโลเมตร เลี้ยวเข้าทางหลวง 207 ไปประมาณ 22 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายไปปราสาทนางรำอีก4 กิโลเมตร รวมระยะทางจากตัวเมือง 88 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยปราสาทองค์กลาง มีมุขยื่นออกไปข้างหน้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออกส่วนทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของปราสาทมีวิหารก่อด้วยศิลาแลงหันหน้าไปทางทิศตะวันตก มีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบนอกกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำขนาดเล็กก่อด้วยศิลาแลง ถัดจากปราสาทนางรำไปทางทิศใต้ 80 เมตรมีปราสาทอีก 3 หลังเรียงกันในแนวเหนือ-ใต้ มีกำแพงศิลาแลงและคูน้ำรูปเกือกม้าล้อมรอบ










อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่





ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 4 จังหวัด คือ นครราชสีมา นครนายก สระบุรี และปราจีนรี เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2505


อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นพื้นที่ด้านตะวันตกของเทือกเขาพนมดงรัก สูงโดดเด่นขึ้นมาจากที่ราบภาคกลางแล้วก่อตัวเป็นแนวเขตของที่ราบสูงโคราช มีเขาร่มเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด 1,351 เมตร เขาแหลมสูง 1,326 เมตร เขาเขียวสูง 1,292 เมตร เขาสามยอดสูง 1,142 เมตร เขาฟ้าผ่าสูง 1,078 เมตร เขากำแพงสูง 875 เมตร เขาสมอปูนสูง 805 เมตร และเขาแก้วสูง 802 เมตร ซึ่งวัดความสูงจากระดับน้ำทะเลเป็นเกณฑ์ และยังประกอบด้วยทุ่งกว้างสลับกับป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ด้านทิศเหนือและตะวันออกพื้นที่จะลาดลง ทางทิศใต้และตะวันตกเป็นที่สูงชันไปเรื่อยๆ



อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าชุกชุม ในบางครั้งเวลาขับรถยนต์ไปตามถนน จะเห็นสัตว์ป่าเดินผ่านหรือออกหากินตามทุ่งหญ้า หรืออาจจะเห็นโขลงช้างออกหากินริมถนน ลูกช้างเล็กๆ ซนและน่ารักมาก บริเวณตั้งแต่ที่ชมวิวกิโลเมตรที่ 30 จนถึงปากทางเข้าหนองผักชี ตลอดจนโป่งต้นไทร ในปัจจุบันถ้าขับรถยนต์ขึ้นเขาใหญ่ทางด่านตรวจเนินหอมข้ามสะพานคลองสามสิบไปแล้ว สามารถเห็นโขลงช้างได้เหมือนกัน





















บ้านด่านเกวียน

อยู่ห่างจากตัวเมือง 15 กิโลเมตร ในสมัยโบราณตำบลนี้เป็นที่พักกองเกวียนที่ค้าขายระหว่างโคราช-เขมร มีแม่น้ำมูลไหลผ่าน ชาวบ้านใช้ดินริมฝั่งแม่น้ำมาปั้นภาชนะใช้สอย และได้ทำสืบต่อมาจนปัจจุบันนี้ นับเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน ปัจจุบันด่านเกวียนมีชื่อเสียงมากในฐานะที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาได้สวยงาม มีรูปแบบที่แปลกและหลากหลาย แต่ยังคงลักษณะดั้งเดิมของกรรมวิธีในการปั้น และใช้ดินดำสัมฤทธิ์ที่มีเอกลักษณ์ของสี เป็นเครื่องปั้นแบบด่านเกวียนโดยเฉพาะไว้ นักท่องเที่ยวนิยมไปชมวิธีการผลิต และซื้อหาเครื่องปั้นดินเผาขนาดต่างๆ อยู่เสมอ



ตกแต่งบ้านสวยด้วยดินเผาด่นเกวียน


ปัจจุบันมีการจัดสรรพื้นที่บางส่วนของบ้านด่านเกวียนเพื่อจัดตั้งโครงการเอสวายอาร์ ด่านเกวียนพลาซ่า ซึ่งเป็นแหล่งจำหน่ายเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนที่รวบรวมเอาสินค้าจากช่างปั้นในหมู่บ้านด้านเกวียนทั้งหมดมารวมกันไว้ในแหล่งเดียวกัน เพื่อความสะดวกของนักท่องเทียวในการเลือกซื้อสินค้า โดยภายในโครงการมีร้านค้าเช่าพื้นที่กว่า 100 แห่ง ซึ่งจำหน่ายเครื่องปั้นดินเผาตั้งแต่ชิ้นเล็ก ไปจนถึงชิ้นใหญ่ นอกจากนี้ยังมัสินค้าประเภทหินทรายแกะสลักที่นิยมนำมาใช้แต่งบ้านแต่งสวนในสไตล์บาหลีวางขายเรียงรายอยู่ในโครงการ


การนำลวดลายดอกลีลาวดีมาใช้ในการออกแบบเครื่องผั้นดินเผาได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากช่างปั้น และช่างแกะหินทรายในด่านเกวียน สังเกตได้จากดีไซน์ของสินค้าส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นชิ้นใหญ่หรือชิ้นเล็กต่างก็หยิบยกความงามของดอกลีลาวดีมาใช้ในการตกแต่งผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นโอ่งน้ำล้นใบใหญ่พร้อมฐานวางและโคมไฟถูกประดับประดาด้วยลายดอกลีลาวดี โดยเฉพาะที่ร้านไม้เมือง ซึ่งจำหน่ายสินค้าประเภทโอ่งน้ำล้นพร้อมโคมไฟตกแต่งสนามหญ้าหน้าบ้าน ในราคาจำหน่ายตั้งแต่ราคา 250 บาทต่อชิ้นขึ้นไป นอกจากนี้ยังมีหินทรายแกะสลักชิ้นเล็กๆ เป็นสัตว์ การ์ตูน และคนจำหน่ายในราคาไม่แพง
























การเดินทาง


นครราชสีมา:การเดินทาง


ทางรถยนต์
จากกรุงเทพฯ เดินทางไปนครราชสีมาได้หลายเส้นทาง เส้นทางที่นิยมที่สุดคือ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ที่สระบุรี ไปจนถึงนครราชสีมา รวมระยะทางประมาณ 259 กิโลเมตร
อีกเส้นทางคือ จากกรุงเทพฯ ผ่านมีนบุรี ฉะเชิงเทรา พนมสารคาม กบินทร์บุรี ปักธงชัย ถึงนครราชสีมา รวมระยะทางประมาณ 273 กิโลเมตร
หรืออาจเลือกใช้เส้นทางรังสิต-นครนายก ต่อทางหลวงหมายเลข 33 ไปกบินทร์บุรี แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 304 ผ่านวังน้ำเขียว ปักธงชัย เข้านครราชสีมา


ทางรถไฟ
มีรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) ไปนครราชสีมาทุกวัน รายละเอียดสอบถามที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690


ทางรถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ออกจาก สถานีขนส่งหมอชิต 2 ไปนครราชสีมาทุกวันและตลอดทั้งวัน รายละเอียดสอบถาม โทร. 0 2936 1880, 0 2936 0657 , 0 2936 2852-66 บริษัทเอกชนที่เปิดบริการเดินรถคือ บริษัท ราชสีมาทัวร์ โทร. 0 44 24 5443 กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 1615 และ บริษัทแอร์โคราช โทร. 0 44 25 2999 กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 2252


การเดินทางจากนครราชสีมาไปยังจังหวัดใกล้เคียง
รถโดยสารวิ่งบริการระหว่างจังหวัดจะออกจากสถานีขนส่งแห่งที่ 2 (ถนนมิตรภาพ-ขอนแก่น) โดยมีรถจากนครราชสีมาไปยังจังหวัดต่าง ๆ ในภาคอีสานได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ (สายเก่าผ่านนางรอง และสายใหม่ผ่านห้วยแถลง) สุรินทร์ (ผ่านนางรอง-บ้านตะโก) นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารไปยังจังหวัดในภาคอื่นได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี พัทยา ระยอง จันทบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงใหม่ และเชียงราย (ไปจนถึงแม่สาย)


การคมนาคมภายในตัวจังหวัด
รถโดยสารวิ่งบริการระหว่างจังหวัดจะออกจากสถานีขนส่งแห่งที่ 2 (ถนนมิตรภาพ-ขอนแก่น) โดยมีรถจากนครราชสีมาไปยังจังหวัดต่าง ๆ ในภาคอีสานได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ (สายเก่าผ่านนางรอง และสายใหม่ผ่านห้วยแถลง) สุรินทร์ (ผ่านนางรอง-บ้านตะโก) นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารไปยังจังหวัดในภาคอื่นได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี พัทยา ระยอง จันทบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงใหม่ และเชียงราย (ไปจนถึงแม่สาย)



หลักการออกแบบและการนำเสนองานผ่านเว็บ
ขั้นตอนเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับพัฒนาเว็บไซต์
1.กำหนดเป้าหมายหลักของเว็บไซต์
-ระบุเป้หมายหลักให้ชัดเจน เพื่อเป็นตัวกำหนดขอบเขตของเว็บไซต์ ซึ่งสามารถกำหนดเป้าหมายเป็นกลุ่มตามความสำคัญ เพื่อให้ผู้พัฒนาได้เห็นว่าอะไรเป็นสิ่งสำคัญเป็นลำดับแรก
- ระบุวิธีวัดความสำเร็จ เพื่อประเมินผลความสำเร็จของเว็บตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งอาจวัดจากการเพิ่มยอดขายที่มากขึ้น หรือมีลูกค้าใหม่เพิ่มขึน้ หรือวัดจากปริมาณผู้ที่เข้ามาอ่านข้อมูล เป็นต้น- พิจารณาทรัพยากรที่มี อันได้แก่ บุคลากร เงินทุน ระยะเวลา และเนื้อหา
2. กำหนดกลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย
-กำหนดลักษณะ เพื่อจะได้ออกแบบเว็บไซต์ได้ตรงกับกลุ่มผู้ใช้หลัก
- ค้นหาสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ เพื่อสร้างความสำเร็จดังนั้น เว็บจะต้องตอบคำถามของผู้ใช้ได้ว่าต้องการอะไร และจะได้ประโยชน์อะไรจากเว็บบ้าง
- ศึกษาว่ามีเว็บใดบ้างที่ให้บริการคล้ายกัน โดยสำรวจถึงเนื้อหา ลักษณะการออกแบบ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาจุดอ่อน จุดแข็งของแต่ละเว็บ เพื่อนำมาประกอบการกำหนดขอบเขตและลักษณะการออกแบบของเว็บไซต์
ขั้นตอน และกระบวนการพัฒนาเว็บไซต์
ขั้นตอนที่ 1 : เก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับพัฒนาเว็บไซต์
1. กำหนดเป้าหมายหลักของเว็บไซต์
2. เนื้อหาสำหรับจัดทำเว็บไซต์
ขั้นตอนที่ 2 : พัฒนาเนื้อหา (Site Contact)
1. สร้างกลยุทธ์การนำเสนอข้อมูล เพื่อให้เนื้อหาบนเว็บไซต์ เป็นที่น่าสนใจ
2. กำหนดขอบเขตเนื้อหาที่จะนำเสนอ
3. จัดรูปแบบเนื้อหาข้อมูลให้ถูกต้องอย่างมีระบบ
ขั้นตอนที่ 3 : พัฒนาโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure)
1. จัดทำแผนผังโครงสร้างข้อมูล
2. พัฒนาระบบเนวิเกชั่น
ขั้นตอนที่ 4 : ออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ (Visual Design)
1. ออกแบบลักษณะหน้าจอโฮมเพจ และเว็บเพจ
2. พัฒนาเว็บเพจต้นแบบที่จะใช้สำหรับการพัฒนาเว็บไซต์
3. พัฒนาเครื่องมือสำหรับ Update หรือเพิ่มเติมข้อมูลต่างๆในเว็บไซต์
ขั้นตอนที่ 5 : พัฒนาและดำเนินการ (Production and Operation)
1. ใส่ข้อมูล และเนื้อหาที่จะนำเสนอลงในหน้าจอโฮมเพจ และเว็บเพจ
2. เปิดตัวเว็บไซต์ และทำให้เป็นที่รู้จัก
3. ดูแล และพัฒนาต่อเนื่อง
หลักการสร้างเว็บไซต์
1. กำหนดจุดมุ่งหมายและกลุ่มเป้าหมาย
2. รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
3. ศึกษาและเรียงลำดับข้อมูล
4. การออกแบบ
5. ทำแผนผังของงาน
6. การเขียน
7. ลงมือทำ
8. ทดสอบและประเมินผล
เริ่มต้นกับการสร้างเว็บไซต์
"Web Presentation" คือกระบวนการจัดสร้างเว็บไซต์ที่ไม่ได้แตกต่างจากการนำเสนอผ่านสื่ออื่นๆ เท่าใดนัก ท่านใดที่เคยทำงาน Presentation หรือผ่านการทำสื่อประเภทต่างๆ เช่นการทำสไลด์ การทำรายการโทรทัศน์ การนำเสนอผลงานด้วยโปรแกรม PowerPoint หรือการทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer-Assisted Instruction : CAI) สิ่งเหล่านี้ล้วนมีกระบวนการไม่แตกต่างกันมากมายเท่าใดนัก ซึ่งการนำเสนองานบนเว็บจัดเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารซึ่งมีองค์ประกอบ4ส่วน ดังนี้
กระบวนการสื่อสารมีองค์ประกอบ 4 ส่วน
1. ผู้ส่งสาร ซึ่งก็คือเรานั่นเอง
2. สาร หมายถึง สิ่งที่เราต้องการนำเสนอ
3. สื่อหรือช่องทาง หมายถึง ตัวกลางหรือสิ่งที่จะนำสารที่เราต้องการต้องการนำเสนอไปสู่ผู้รับ
4. ผู้รับ ผู้รับสาร เรามีมากมายทั่วโลกที่จะเข้ามาชม Web ของเรา ดังนั้นในการออกแบบและจัดทำนั้นเราควรมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ซึ่งจะทำให้เรามีเป้าหมายในการทำงาน

การวิเคราะห์และประเมินผลสื่อการนำเสนอต่างๆ

1. ความเรียบง่าย: จัดทำสไลด์ให้ดูเรียบง่ายเช่น ใช้สีอ่อนเป็นพื้นหลัง หรือใช้พื้นหลังตามลักษณะเนื้อหา

2. มีความคงตัว หมายถึงต้องใช้รูปแบบสไลด์เดียวกันทุกแผ่นที่เกี่ยวกับเนื้อหานั้น โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนสี พื้นหลัง หรือขนาดและแบบตัวอักษร แต่หากต้องการเน้นจุดสำคัญ หรือเป็นเนื้อหาย่อยออกไปจะสามารถเปลี่ยนบางสิ่ง เช่น อาจมีการเปลี่ยนสีพื้นหลังให้แตกต่างจากเนื้อหาสักเล็กน้อย

3. ใช้ความสมดุล: การออกแบบส่วนประกอบของสไลด์ให้มีลักษณะสมดุลมีแบบแผน หรือสมดุลไม่มีแบบแผน ก็ได้ แต่ต้องระวังสไลด์ทุกแผ่นให้มีลักษณะของความสมดุลที่เลือกใช้ให้เหมือนกันเพื่อความคงตัว

4. มีแนวคิดเดียวในสไลด์แต่ละแผ่น: ข้อความ และภาพที่บรรจุในสไลด์แต่ละแผ่นแผ่น ต้องเป็นเนื้อหาของแต่ละแนวคิดเท่านั้น หากเนื้อหานั้นมีหลายแนวคิด หรือเนื้อหาย่อยต้องใช้สไลด์แผ่นใหม่

5. สร้างความกลมกลืน: ใช้แบบอักษรและภาพกราฟิกให้เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหา ใช้แบบอักษรที่อ่านง่าย และใช้สีที่ดูแล้วสบายตา เลือกภาพกราฟิกที่ไม่ซับซ้อน และให้ถูกต้องตรงตามเนื้อหา รวมถึงให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่เป็นทางการ หรือไม่เป็นทางการด้วย

6. แบบอักษร: ไม่ใช้อักษรมากกว่า 2 แบบในสไลด์เรื่องหนึ่ง โดยใช้แบบหนึ่งเป็นหัวข้อ และอีกแบบหนึ่งเป็นเนื้อหา หากต้องการเน้นข้อความตอนใดให้ใช้ตัวหนา หรือตัวเอน แทนเพื่อการแบ่งแยกให้เห็นความแตกต่าง

7. เนื้อหา และจุดนำข้อความ: ข้อความในสไลด์ควรเป็นเฉพาะหัวข้อ หรือเนื้อหาสำคัญเท่านั้น โดยไม่มีรายละเอียดของเนื้อหา และควรนำเสนอเป็นแต่ละย่อหน้า โดยอาจมีจุดนำข้อความอยู่ข้างหน้า เพื่อแสดงให้ทราบถึงเนื้อหาแต่ละประเด็น และไม่ควรมีจุดนำข้อความมากกว่า 4 จุดในสไลด์แผ่นหนึ่ง โดยสามารถใช้ต้นแบบสไลด์ที่มีจุดนำข้อความใน Auto Layout เพื่อเพิ่มจุดนำข้อความให้ปรากฏขึ้นหน้าข้อความแต่ละครั้งเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้รับฟังการนำเสนอ อาจจะใช้การจางข้อความ ในข้อความที่บรรยายไปแล้วเพื่อให้มีเฉพาะจุดนำข้อความ และเนื้อหาที่กำลังนำเสนอเท่านั้นปรากฏแก่สายตา

8. เลือกใช้กราฟิกอย่างระมัดระวัง: การใช้กราฟิกที่เหมาะสมจะสามารถเพิ่มการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล แต่หากใช้กราฟิกที่ไม่เหมาะสมกับเนื้อหาจะทำให้การเรียนรู้นั้นลดลง และอาจทำให้สื่อความหมายผิดไปได้

9. ความคมชัด ของภาพ: เนื่องจากความคมชัดของจอมอนิเตอร์มีเพียง 72-96 DPI เท่านั้น ภาพกราฟิกที่นำเสนอประกอบในเนื้อหาจึงไม่จำเป็นต้องใช้ภาพที่มีความคมชัดสูงมาก ควรใช้ภาพในรูปแบบ JPEG ที่มีความคมชัดปานกลาง และขนาดไม่ใหญ่มากนัก ประมาณ 20-50 KB ซึ่งท่านควรทำการบีบอัด หรือcompress และลดขนาดภาพก่อนเพื่อไม่ให้เปลืองเนื้อที่ในการเก็บบันทึก และการจัดส่งไฟล์ผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e- mail) หรือการอัพโหลดไว้บนเว็บไซต์จะสามารถทำได้ไวยิ่งขึ้น

10. เลือกต้นแบบสไลด์ และแบบอักษรที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ร่วม: เนื่องจากการนำเสนอต้องมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับอุปกรณ์ร่วม เช่น เครื่องแอลซีดี หรือโทรทัศน์เพื่อเสนอข้อมูลขยายใหญ่บนจอภาพ ดังนั้น ก่อนการนำเสนอควรทำการทดลองก่อนเพื่อให้ได้ภาพบนจอภาพที่ถูกต้องเหมาะสม