ประเพณีและวัฒนธรรม

ไทยโคราช ชื่อ ไทยโคราช ความเป็นมา จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่มีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย แต่ไทยโคราชเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ ที่มีวัฒนธรรมโคราช ได้แก่ มีเพลงพื้นบ้านที่เรียกว่า "เพลงโคราช" ใช้ดนตรีพื้นบ้าน คือ มโหรีโคราช และที่เป็น เอกลักษณ์สำคัญคือใช้ภาษาโคราชในชีวิตประจำวัน ไม่มีหลักฐานบ่งบอกว่ากลุ่มชาติพันธุ์โคราชมาจากที่ใด แต่มีหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับชุมชนโบราณ บริเวณจังหวัดนครราชสีมาจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์นี้ นอกจากจะอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมาแล้วยังมีอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ ชัยภูมิ และบางส่วนของจังหวัดลพบุรี บาง ครั้งอาจเรียกกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่า ไทยเบิ้ง วิถีชีวิตและภาษา กลุ่มชาติพันธุ์โคราชมีวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายเหมือนชาวชนบททั่วไป คืออยู่บ้านใต้ถุนสูงแบบบ้านโคราช ซึ่งเป็นเรือนสามระดับ ใกล้ ๆ บ้านปลูกพืชผักสวนครัวซึ่งอาจมีทั้งอาหารและยา ใช้ผ้านุ่งโจงกระเบนซึ่งเป็น ผ้าไหมเรียกว่า ไหมหางกระรอก ซึ่งเป็นผ้าทอที่เส้นพุ่งเป็นไหมควบสองเส้นทำให้ทอแล้วเกิดเป็นลูกลาย เหมือนหางกระรอกและวัฒนธรรมที่สำคัญคือ ภาษาโคราช ซึ่งมีวงศัพท์ เสียง และสำนวนของตัวเอง เช่น จ่น แปลว่า ไม่ว่างเลย เช่น วันนี้จ่นมาก จื้น แปลว่า จืดชืด หรือ เซ็ง เช่น ส้มตำนี้จื้นแล้ว เซาะเยาะ แปลว่า ผอมโซ ไม่มีเรี่ยวแรง นอกจากนี้อาจเพี้ยนเสียงวรรณยุกต์คำในภาษาไทยกลาง ได้แก่ เพี้ยนเสียงเอกเป็นเสียงตรี เช่น กัด เป็น กั๊ด ดัด เป็น ดั๊ด เพี้ยนเสียงสามัญเป็นเสียงจัตวา เช่น ปลา เป็น ปล๋า กา เป็น ก๋า เกี่ยวกับสำนวนภาษาโคราชมีสำนวนมากมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น คำเรียกขวัญ ดังตัวอย่างเล็กน้อยดังนี้ "ขวัญอีนางเอยมา??กู๊? ขอให่มาเข่าโครงอย่าได้หลาบ ขอให่มาเข่าคราบอย่าได้ถอย สิบปีอย่าไปอื่น หมื่นปีอย่าไปไกล ขอให่มาอยู่ซุมพ่อซุมแม่ ซุมพี่ซุมน่อง ให่มาอยู่เรือนใหญ่ หัวกะไดสูง.." หมายความว่า ขวัญลูกเอยจงมาเถิดขอให้มาอยู่กับร่างกายสิบปีหมื่นปีอย่าได้ไปไหน ขอให้อยู่กับพ่อ แม่พี่น้อง บนเรือนหลังใหญ่บันไดสูง การปรับปรนในสังคมปัจจุบัน ปัจจุบันกลุ่มชาติพันธุ์โคราชมีความภาคภูมิใจในความเป็นคนโคราช ร่วมกันสร้างสรรค์สังคม รักษา และสืบทอด วัฒนธรรมโคราช ให้คงอยู่

ประเพรีท้องถิ่น
งานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี ชื่อ งานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี ช่วงเวลา ระหว่างวันที่ ๒๓ มีนาคม - ๓ เมษายน ของทุกปี ความสำคัญ เป็นงานประจำปีของจังหวัดซึ่งเริ่มขึ้นในวันที่ ๒๓ มีนาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นเวลาที่ ท้าวสุรนารี ได้รับชัยชนะจากข้าศึก เพราะวันที่ ๒๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๓๖๙ คือวันที่เจ้าอนุวงศ์ยกทัพ ออกจากเมืองนครราชสีมา จึงเป็นงานประเพณีทำให้ระลึกถึงความกล้าหาญในวีรกรรมครั้งนั้น นอกจากนี้ใน งานยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรม การออกร้าน จัดนิทรรศการของหน่วยราชการและภาคเอกชน รวมทั้ง กิจกรรมบันเทิงที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในแต่ละวัน พิธีกรรม พิธีกรรมที่จัดขึ้นในงามที่จัดขึ้นในงานของท้าวสุรนารี เริ่มต้นครั้งแรกใน ปี พุทธศักราช ๒๔๗๗ มีการ บวงสรวงอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี พิธีจุดพลุสี่มุมเมือง นอกจากนี้ในอดีตเคยมีการจัดการแสดงละครเรื่อง วีรกรรมท้าวสุรนารี ให้เป็นกิจกรรมหลักของงานเพื่อให้ผู้ร่วมงานระลึกถึงความกล้าหาญในวีรกรรมครั้งนั้น สาระ กิจกรรมนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พลเมือง เป็นแบบอย่างให้กับพลเมือง ได้ตระหนักถึงบุคคลที่ถูกยกย่องให้เป็นปูชนียบุคคล